วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

                                

     รัฐธรรมนูญ



                                       


              รัฐธรรมนูญ หมายถึงกฎหมายสูงสุดในการจัดการปกครองรัฐในความหมายอย่างแคบ "รัฐธรรมนูญ" ต้องมีลักษณะเป็นลายลักษณ์อักษรและไม่ใช่สิ่งเดียวกับ กฎหมายรัฐธรรมนูญ เพราะ     "กฎหมายรัฐธรรมนูญ" มีความหมายกว้างกว่าและจะเป็นรูปแบบลายลักษณ์อักษรหรือจารีตประเพณีก็ได้รัฐธรรมนูญในปัจจุบันนั้น มีทั้งเป็นลักษณะลายลักษณ์อักษร และลักษณะไม่เป็นลายลักษณ์อักษร   โดยที่ลักษณะไม่เป็นลายลักษณ์อักษร นอกจากจะใช้หลักของจารีต ประเพณีการปกครองแล้ว กฎหมายทุกตัวที่เกี่ยวข้องกับการปกครอง ย่อมถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของรัฐธรรมนูญด้วยทุกประเทศทั่วโลกมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ทั้งประเทศที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย รวมถึงประเทศที่ปกครองระบอบเผด็จการ เพื่อใช้เป็นหลักหรือเป็นแนวทางในการบริหารประเทศรัฐธรรมนูญฉบับแรกของโลก


ในวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 1215 ขุนนางและพระราชาคณะจำนวน 25 คน ได้บังคับให้พระเจ้าจอห์นลงนามในเอกสารที่เรียกว่า "มหากฎบัตร" (The Great Charter, Magna Carta) ซึ่งเป็นสัญญาระหว่างพระมหากษัตริย์กับขุนนางและพระสงฆ์ โดยในมหากฎบัตรได้กำหนด ถึงการจัดองค์กรและการบริหารอำนาจของสภาสูง (Magnum Concillium) และกำหนดว่าพระมหากษัตริย์จะเก็บภาษีบางอย่างตามที่กำหนดไว้โดยมิได้รับความเห็นชอบจากสภาสูงมิได้ จะจับกุมคุมขังบุคคลได้ก็ต่อเมื่อ มีคำพิพากษาที่ชอบด้วยกฎหมาย มหากฎบัตรนี้ นักกฎหมายบางท่านเห็นว่า เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรก
รัฐธรรมนูญในสหรัฐอเมริกาและฝรั่งเศส ในภาษาของประเทศทั้งสอง คำว่ารัฐธรรมนูญต่างใช้คำว่า Constitution ซึ่งแปลว่า การสถาปนา หรือการจัดตั้ง ซึ่งหมายถึงการสถาปนาหรือจัดตั้งรัฐนั่นเอง โดยทั้งสองประเทศมีรัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษร แต่ประเทศอังกฤษไม่มีรัฐธรรมนูญเป็นลายลักษณ์อักษร

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นกฎหมายลำดับศักดิ์สูงสุดแห่งราชอาณาจักรไทย กฎหมายอื่นใดจะขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญไม่ได้ รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบการปกครองของประเทศ ซึ่งตั้งแต่ปีพ.ศ. 2475ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญแล้วทั้งสิ้น 18 ฉบับ อันแสดงให้เห็นถึงความขาดเสถียรภาพทางการเมืองของประเทศ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550

รัฐธรรมนูญไทยระบุว่าประเทศไทยมีรูปแบบรัฐเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา (เขียนว่า ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข) กำหนดให้มีการแบ่งแยกอำนาจระหว่างอำนาจนิติบัญญัติ บริหารและตุลาการ ปัจจุบัน ประเทศไทยใช้ระบบสองสภา แตกต่างจากในอดีตที่ใช้ระบบสภาเดี่ยว รัฐธรรมนูญแต่ละฉบับกำหนดให้ผู้แทนราษฎรมาจากการเลือกตั้งและการแต่งตั้งแตกต่างกันไป เช่นเดียวกับพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์
าลรัฐธรรมนูญเป็นองค์กรหลักที่ทำหน้าที่ตีความรัฐธรรมนูญและวินิจฉัยข้อขัดแย้งข้อพิพาทที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญ
                                                                        



วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ผลการตัดสินคดีเขาพระวิหาร


                                                          ปราสาทเขาพระวิหาร


  เขาพระวิหาร หรือที่หลายๆ คนรู้จักในนาม "ปราสาทเขาพระวิหาร" (Prasat Preah Vihear) และที่ประเทศกัมพูชาเรียกขานว่า "เปรี๊ยะวิเฮียร์" เป็นปราสาทหินตั้งอยู่บริเวณเทือกเขาพนมดงรัก ในพื้นที่ทับซ้อนชายแดนไทย-กัมพูชา ระหว่างบ้านสรายจร็อม อำเภอจอมกระสานต์ จังหวัดพระวิหาร ของประเทศกัมพูชา และบ้านภูมิซรอล ตำบลเสาธงชัย อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ใกล้ๆ กับอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร 
          เขาพระวิหาร เป็นบริเวณสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของคนพื้นเมืองสมัยก่อน ในกษัตริย์ชัยวรมันที่ 2 ได้กำหนดเขตบริเวณนี้และเรียกชื่อว่า "ภวาลัย" ภายหลังปรากฏชื่อในจารึกภาษาสันสกฤตว่า "ศรีศิขรีศวร" หมายความว่า "ผู้เป็นใหญ่แห่งภูเขาอันประเสริฐ" ตั้งอยู่บนยอดเขาในเทือกเขาพนมดงรัก ตามแนวเส้นกั้นเขตแดนระหว่างประเทศไทยกับกัมพูชา จากหลักฐานต่างๆ คาดว่าสร้างในปี พ.ศ.1432-1443 ในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 เพื่อใช้เป็นสถานที่สักการะตามความเชื่อทางศาสนาพราหมณ์ โดยสมมติให้เปรียบเสมือน "เขาพระสุเมรุ" (ศูนย์กลางของจักรวาล) โดยการสร้างนั้นก็มีเหตุผลในการรวบรวมอำนาจและความเชื่อของคนในละแวกนั้น เข้าด้วยกัน เพราะในอดีตแถบนั้นมีผู้คนหลากหลายเชื้อชาติอาศัยอยู่รวมกัน พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 จึงโปรดให้สร้างเขาพระวิหารขึ้น เพื่อเป็นจุดยึดเหนี่ยวและศูนย์รวมจิตใจของ ชาวบ้านซึ่งจะทำให้การปกครองง่ายขึ้นด้วย

                    คดีเขาพระวิหาร ชมการถ่ายทอดสด ผลการตัดสินคดีเขาพระวิหารนาทีต่อนาที
ปราสาทเขาพระวิหาร
          "ปราสาทเขาพระวิหาร" หรือ "ปราสาทพระวิหาร" เป็นโบราณสถานที่มีความงดงาม โดดเด่นอยู่เหนือเทือกเขาพนมดงรัก ซึ่งกั้นพรมแดน ระหว่างประเทศไทยกับประเทศกัมพูชามีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 657 เมตร ปราสาทเขาพระวิหารเป็นเสมือนเทพสถิตย์บนขุนเขาหรือ "ศรีศิขเรศร" เป็น "เพชรยอดมงกุฎ" ขององค์ศิวะเทพ (พระอิศวร) ตั้งโดดเด่นอยู่บนยอดเทือกเขาพนมดงรัก มีความยาว 800 เมตร ตามแนวเหนือใต้ ส่วนใหญ่เป็นทางเข้ายาวและบันไดสูงถึงยอดเขา จนถึงส่วนปราสาทประธาน ซึ่งอยู่ที่ยอดเขาทางใต้สุดของปราสาท (สูง 120 เมตรจากปลายตอนเหนือสุดของปราสาท, 525 เมตรจากพื้นราบของกัมพูชา และ 657 เมตรจากระดับ)

          ปราสาทเขาพระวิหารประกอบด้วยหมู่เทวาลัยและปราสาทหินจำนวนมาก ทั้งหมดสร้างขึ้นเพื่อถวายแด่พระศิวะ ซึ่งเทวาลัยหรือปราสาทหินแห่งแรกสร้างขึ้น เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 9 ซากปรักหักพังของเทวาลัยที่เหลืออยู่ มีอายุตั้งแต่สมัยเกาะแกร์ ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 10 ครั้น และปราสาทเขาพระวิหารเป็นสถาปัตยกรรมอันน่าทึ่ง เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของบรรพชนของ "ขะแมร์กัมพูชา" (ขอม) แต่โบราณ ที่อาศัยอยู่ทั้งในกัมพูชาปัจจุบัน และในภาคอีสานของเรา ขะแมร์กัมพูชา เป็นชนชาติที่มีความสามารถยิ่งในการสร้าง "ปราสาท" ด้วยหินทรายและศิลาแลง ซึ่งขะแมร์กัมพูชาก่อสร้างปราสาทบนเขาพระวิหารติดต่อกันมายาวหลายรัชสมัย กว่า 300 ปี ตั้งแต่กษัตริย์ "ยโสวรมันที่ 1" ถึง "สุริยวรมันที่ 1" เรื่อยมาจน "ชัยวรมันที่ 5-6" จนกระทั่งท้ายสุด "สุริยวรมันที่ 2" และ "ชัยวรมันที่ 7" จากปลายคริสต์ศตวรรษที่ 9 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 12 (หรือจากพุทธศตวรรษที่ 15 ถึง 18 หรือก่อนสมัยสุโขทัย 300 ปีนั่นเอง)
คดีปราสาทพระวิหารในพ.ศ.2505
เป็นความขัดแย้งระหว่างราชอาณาจักรกัมพูชากับราชอาณาจักรไทยซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2501 จากปัญหาการอ้างสิทธิเหนือบริเวณปราสาทพระวิหาร ซึ่งตั้งอยู่ที่ชายแดนไทยด้านอำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ และชายแดนกัมพูชาด้านจังหวัดพระวิหารเกิดจากการที่ทั้งไทยและกัมพูชา ถือแผนที่ปักปันเขตแดนตามแนวสันปันน้ำของเทือกเขาพนมดงรักคนละฉบับ ทำให้เกิดปัญหาพื้นที่ทับซ้อนของทั้งสองฝ่ายในบริเวณที่เป็นที่ตั้งของตัวปราสาท โดยทั้งฝ่ายกัมพูชาและฝ่ายไทยได้ยินยอมให้มีการพิจารณาปัญหาดังกล่าวขึ้นที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก) ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในปี พ.ศ. 2502
คดีนี้ศาลโลกได้ตัดสินให้ตัวปราสาทพระวิหารตกเป็นของกัมพูชา เมื่อวันที่ 15 มิถุนายนพ.ศ. 2505 ด้วยคะแนนเสียง 9 ต่อ 3 ท่ามกลางความไม่พอใจของฝ่ายไทย ซึ่งเห็นว่าศาลโลกตัดสินคดีนี้อย่างไม่ยุติธรรม อย่างไรก็ตาม การตัดสินคดีครั้งนี้ไม่ได้แก้ปัญหาเรื่องอาณาเขตทับซ้อนระหว่างไทย-กัมพูชาในบริเวณดังกล่าวให้หมดไป และยังคงเป็นปัญหาเรื้อรังต่อมาจนถึงปัจจุบัน
"คำตัดสินศาลโลกคดีปราสาทเขาพระวิหาร"
  ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “คำตัดสินศาลโลก คดีปราสาทเขาพระวิหาร”  ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 31 ตุลาคม และ 1 พฤศจิกายน 2556 จากประชาชนทั่วทุกภูมิภาค รวมทั้งสิ้นจำนวน 1,253  หน่วยตัวอย่าง กระจายทุกระดับการศึกษาและอาชีพเกี่ยวกับการตัดสินคดีปราสาทเขาพระวิหาร ซึ่งจะมีการอ่านคำพิพากษาในวันที่ 11 พฤศจิกายน นี้ และความคิดเห็นต่อการเคลื่อนไหวของรัฐบาลทั้งสองประเทศหากมีการตัดสินคดีออกมา รวมไปถึงประเด็นที่ส่งผลต่อความเสถียรภาพของรัฐบาล นางสาวยิ่งลักาณ์  ชินวัตร โดยมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error: S.E.) ไม่เกิน 1.4
                จากผลการสำรวจ เมื่อถามถึงความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวโน้มหรือทิศทางการตัดสินคดีปราสาทเขาพระวิหารของศาลโลกพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 19.87ระบุว่า ศาลโลกบอกไม่มีอำนาจที่จะตัดสิน และให้ไทยกับกัมพูชาแก้ไขปัญหากันเอง รองลงมา ร้อยละ 19.79ระบุว่า ศาลโลกตัดสินตามกัมพูชาฟ้องร้อง และทำให้ไทยต้องเสียดินแดน 4.6 ตารางกิโลเมตร ร้อยละ 18.52ระบุว่า ศาลโลกตัดสินตามคำร้องของฝ่ายไทย ให้บริเวณโดยรอบปราสาทเขาพระวิหารเป็นของไทย ร้อยละ 17.80ระบุว่า ศาลโลกไม่ตัดสินตามคำร้องของฝ่ายไทยและกัมพูชา ร้อยละ 3.19ระบุว่า ตัดสินออกมาในรูปแบบอื่น ๆ เช่น ให้ทั้ง 2 ฝ่ายร่วมกันดูแลพื้นที่ทับซ้อนกันและร้อยละ 20.83ระบุว่าไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
                สำหรับความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินการของฝ่ายกัมพูชา หากศาลโลกตัดสินเป็นประโยชน์ต่อฝ่ายไทย พบว่า ประชาชน    ส่วนใหญ่ ร้อยละ 60.02ระบุว่าฝ่ายกัมพูชา อาจจะไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลโลก และหายุทธวิธีอื่นในการกดดันไทยต่อไปขณะที่ ร้อยละ 34.64ระบุว่าฝ่ายกัมพูชาน่าจะปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลโลกทุกประการ และร้อยละ 5.35ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
                เมื่อถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินการของฝ่ายไทย หากศาลโลกตัดสินเป็นประโยชน์ต่อฝ่ายกัมพูชา พบว่า ประชาชน  ส่วนใหญ่ ร้อยละ 54.91ระบุว่าไม่ต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลโลก และหายุทธวิธีอื่นในการป้องกันการเสียดินแดน  รองลงมา ร้อยละ37.75ระบุว่าควรปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลโลกทุกประการ ร้อยละ 0.56 ระบุว่า ต้องอาศัยความประนีประนอมการเจรจา ทางการฑูต เพื่อรักษาสัมพันธไมตรีระหว่างไทยกับกัมพูชา และร้อยละ 6.78 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
                ด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับจุดยืนของประชาชน กรณีปราสาทเขาพระวิหาร พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 52.35ระบุว่า      ไม่ยอมเสียดินแดนแม้ว่าจะทำให้ไทยกับกัมพูชามีปัญหาขัดแย้งกันต่อไปในอนาคต ร้อยละ 25.14ระบุว่า ยอมรับการตัดสินของศาลโลกหากต้องเสียดินแดนเพื่อรักษาความสัมพันธ์อันดีงามระหว่างไทยกับกัมพูชา ร้อยละ 3.03ระบุว่า ควรร่วมมือกันบริหารจัดการพื้นที่ทับซ้อนโดยให้ยึดผลประโยชน์ของทั้งสองประเทศเป็นหลัก เพื่อลดผลกระทบที่เกิดจากความขัดแย้ง ขณะที่ ร้อยละ 19.47ไม่มีจุดยืน/ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ท้ายสุด เมื่อถามถึงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นที่จะทำให้ รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร สั่นคลอนมากที่สุดในขณะนี้พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 64.01ระบุว่าเป็นประเด็นการออกกฎหมาย นิรโทษกรรมแบบสุดซอย รองลงมา ร้อยละ 9.42ระบุว่าเป็นประเด็นการเปิดเผยข้อมูลตัวเลขขาดทุน โครงการจำนำข้าว 4 แสนล้านบาท  ร้อยละ  6.70ระบุว่า ไม่มีประเด็นใดเลยที่จะทำให้รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร สั่นคลอนลงได้ ร้อยละ  5.83ระบุว่า เป็นประเด็นคำพิพากษาของศาลโลก กรณีปราสาทเขาพระวิหาร  ร้อยละ  3.43ระบุว่า เป็นประเด็น อื่น ๆ เช่นการกู้เงินเพื่อทำโครงการขนาดใหญ่ การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ข้าวของแพง ผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้  และร้อยละ 10.61 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ